เรื่องน่ารู้ รวมเรื่องราวน่ารู้รอบตัว เกร็ดความรู้ เรื่องเบาสมอง เรื่องสนุกๆ

เรื่องน่ารู้ รวมเรื่องราวน่ารู้รอบตัว เกร็ดความรู้ เรื่องเบาสมอง เรื่องสนุกๆ

Search
Close this search box.
Search

การผายลมในอวกาศ มีความเลวร้ายกว่าที่คุณคิด

การผายลมถือเป็นเรื่องธรรมชาติที่มนุษย์ทุกคนต้องทำกัน และมันไม่ได้ส่งผลกระทบอะไรกับเรามากสักเท่าไหร่ แต่นั่นเรากำลังหมายถึงการผายลมบนโลกเท่านั้น

ในทางวิทยาศาสตร์ การผายลมเป็นสิ่งที่น่าทึ่ง เนื่องจากเป็นกระบวนการที่ร่างกายสามารถผลิต (และปล่อย) ออกมาได้ตลอดทั้งวัน ตั้งแต่คาร์บอนไดออกไซด์ไปจนถึงไนโตรเจน เช่นเดียวกับไฮโดรเจนและมีเทน

โชคดีที่โลกของเราสามารถดูดซับก๊าซเหล่านี้ได้ทั้งหมด ซึ่งโดยเฉลี่ยแล้วมนุษย์ผู้ใหญ่จะมีการผายลมโดยเฉลี่ย 5-15 ครั้งต่อวัน ถ้าคุณเป็นคนดีพอล่ะก็ คุณจะไม่ปล่อยก๊าซของเสียตอนที่อยู่ใกล้คนอื่น และหวังว่ากลิ่นของมันจะหายไปก่อนที่จะมีคนเข้ามาในอาณาเขตผายลมของคุณ

แต่สำหรับผู้คนที่ต้องใช้ชีวิตอยู่ในอวกาศ การผายลมของพวกเขาต้องมาพร้อมกับความเสี่ยงเสมอ

อย่างแรก นักบินอวกาศต้องทำงานในพื้นที่ขนาดเล็กที่ต้องรักษาความดันบรรยากาศอยู่ภายใน เช่นห้องโดยสารของกระสวยอวกาศหรือสถานีอวกาศ ซึ่งหากคุณนำก๊าซไวไฟ เช่น ไฮโดรเจนและมีเทน (ที่เกิดจากการผายลม) เข้าไปล่ะก็ โอกาสที่จะเกิดไฟลุกไหม้บนนั้นก็มีสูง

แต่น่าแปลกที่นั่นไม่ใช่ปัญหาใหญ่ที่สุดสำหรับการผายลมในอวกาศ แม้ว่าการผายลมของคุณอาจก่อให้เกิดไฟไหม้ได้ แต่มันไม่ใช่ทุกครั้ง

ส่วนที่แย่ที่สุดของการผายลมในอวกาศคือการขาดการไหลเวียนของอากาศ ลองนึกสภาพเวลาที่คุณผายลมบนโลก กลิ่นก็จะกระจายไปตามกระแสลมรอบตัวคุณ

แต่ด้วยการไหลเวียนของอากาศที่เบาบางมากในห้องโดยสารของกระสวยอวกาศขนาดเล็กกะทัดรัด กลิ่นของมันจะตลบอบอวลยิ่งกว่าคุณผายลมในผ้าห่มแล้วคลุมโปงเพื่อดมเอง

ไมค์ แมสซิมิโน นักบินอวกาศขององค์การอวกาศยุโรปกล่าวว่า “การผายลมในอวกาศไม่ได้มีการไหลเวียนมากเท่ากับบนโลก คุณต้องการอากาศที่ไหลเวียนเพื่อกำจัดสิ่งปนเปื้อนและก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์”

แมสซิมิโนกล่าวต่อไปว่า ทางออกที่ดีที่สุดคือการไปที่ห้องน้ำแล้วก็ปล่อยมันตรงนั้น ซึ่งมันมีการระบายอากาศที่ดีกว่าที่สามารถกระจายกลิ่นเหม็นได้มากขึ้น

ห้องน้ำในสถานีอวกาศนานาชาติ

และนี่คืออีกมุมหนึ่งที่ทำให้เราได้รู้ว่า การเป็นนักบินอวกาศที่ต้องไปอาศัยอยู่นอกโลก ต้องมีความลำบากในการใช้ชีวิตมากแค่ไหน

ที่มา : mashable

Tags

แชร์:

เรื่องอื่นๆ