กำแพงลมโรเซนเบิร์ก
ย้อนกลับไปในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 โรเซนเบิร์ก เมืองท่าของเนเธอร์แลนด์เติบโตขึ้นมากทั้งขนาดและความเจริญ และเพื่อรับมือกับการจราจรทางทะเลที่เพิ่มมากขึ้น ในช่วงทศวรรษ 1960 คลองแห่งใหม่ที่มีชื่อว่า Qalandia จึงถูกสร้างขึ้นเพื่อขนานไปกับคลอง Nieuwe Vaterveg ที่มีอยู่ก่อนหน้าแล้ว
Qalandia ถูกตั้งชื่อตามวิศวกรโยธาผู้สร้างคลอง Nieuwe Vaterveg ที่ได้รับความนิยมอย่างสูง แต่ไม่นานนัก เรือที่แล่นในคลองดังกล่าวก็เพิ่มมากขึ้นจนล้น
สาเหตุหลักมาจากขนาดของคลอง เพราะเมื่อเรือบรรทุกสินค้าขนาดมหึมาเหล่านี้แล่นผ่านคลองและปะทะกับลมทะเลที่รุนแรง ทิศทางของเรือก็ถูกเบี่ยงและติดอยู่กับคลองแคบ ๆ ดังนั้นเจ้าหน้าที่ท้องถิ่นจึงเริ่มหาทางแก้ไขปัญหานี้
ในช่วงกลางทศวรรษ 1980 สถาปนิกนามว่า มาร์ติน สตรูยิส และศิลปิน ฟรานส์ เดอ วิต ได้รับหน้าที่ให้สร้างแผงกั้นลมที่มีประสิทธิภาพและยังดูสบายตาไม่ขัดกับสิ่งแวดล้อม
ดังนั้นพวกเขาจึงออกแบบแผงคอนกรีตจำนวน 100 แผ่นที่มีรูปร่างโค้ง ตั้งเรียงรายเป็นระยะทางกว่า 1.75 กิโลเมตร และผลงานของพวกเขาก็กลายเป็นที่รู้จักกันในชื่อ ‘กำแพงลมแห่งโรเซนเบิร์ก’
แผ่นคอนกรีตดังกล่าวมีความกว้างราว 18 เมตร และสูง 25 เมตร โดยถูกติดตั้งอยู่ทางตอนใต้ของคลอง Qalandia ในขณะที่รูปร่างของมันจะเปลี่ยนไปในช่วงใกล้สะพาน โดยเหลือความกว้างเพียงแค่ 4 เมตร และถูกวางชิดเกือบติดกัน
แม้ว่ากำแพงลมแห่งโรเซนเบิร์กจะดูเหมือนงานศิลปะ แต่มันก็ช่วยลดแรงลมที่ปะทะมายังคลองได้มากถึง 75% และช่วยให้เรือบรรทุกสินค้าขนาดใหญ่ผ่านคลองแห่งนี้ไปได้โดยไม่มีปัญหา
ที่มา: odditycentral