ผีตาโขน
ตำนานถิ่น : ไทย
อีกหนึ่งชื่อของชื่อผีที่โด่งดังในประเทศไทย ที่มีชื่อว่า ผีตาโขน ซึ่งเป็นเทศกาลเดินขบวนผีเหล่านี้ มีชื่อเรียกอย่างเป็นทางการอีกชื่อหนึ่งในเทศกาลนี้ ซึ่งเรียกว่า “งานบุญหลวง” หรือ “งานบุญผะเหวด” โดยจะจัดช่วงเดือน 7 ของทุกปี มี 3 วัน ในทั้งสามวันจะเป็นการเต้นรำ ฟ้อน เซิ้ง และจัดงานทำบุญ ถวายอาหารพระสงฆ์ที่วัดโพนชัย จากนั้นเหล่าผู้แต่งกายเป็นผีตนนี้ก็จะเดินรอบหมู่บ้าน ร้องเพลงอย่างสนุกสนาน
ความเชื่อในแต่โบราณของผีตนนี้มีมาในนิทานชาดก เรื่อง “พระเวสสันดร” โดยเล่าว่าเมื่อครั้งที่พระเวสสันดรกับนางมัทรีเดินทางออกจากป่า เพื่อกลับเข้าสู่เมือง เหล่าบรรดาผีป่าได้ร่วมใจกันส่งเสด็จทั้งสองพระองค์ แต่หลังจากที่ส่งเสร็จเหล่าบรรดาผีป่าได้ตื่นตาตื่นใจกับการเข้าเมืองครั้งแรก จึงตัดสินใจที่จะเที่ยวในเมืองสักพักก่อนที่จะกลับเข้าป่า สร้างความตกอกตกใจให้กับผู้คนที่พบเจอ ต่อมาชาวเมืองจึงเรียกผีเหล่านี้ว่า “ผีตามคน” หรือ “ผีตาขน” (เพราะเนื่องจากรอบดวงตาผีมีขนที่ยาว) ในเวลาต่อมาออกเสียงเพี้ยนกลายมาเป็น “ผีตาโขน” ที่ใช้เรียกในปัจจุบัน
ในความเชื่อของผีตาโขนนั้น ถูกบอกเล่าลักษณ์ที่มีใบหน้าที่ใหญ่และปากที่กว้าง ชาวบ้านอำเภอด่านซ้าย จังหวัดเลย จึงได้จำลองลักษณะผีตนนี้โดยสร้างหน้ากากที่ทำมาจากหวดนึ่งข้าวเหนียวและโคนก้านมะพร้าว จากนั้นนำมาระบายสีและแต่งหน้าให้มีเหมือนหน้าผีตาโขน จากนั้นสวมชุดหลากผีต่างๆ เป็นชุดคลุมยาว บ้างก็ถือไม้เป็นอุปกรณ์ด้วย ซึ่งผู้ที่แต่งกายเป็นผีตนนี้จะเรียกว่า “ผีตาโขนเล็ก” นอกจากนั้นยังมี “ผีตาโขนใหญ่” ที่สร้างขึ้นจากไม้ที่มีรูปร่างสูงใหญ่กว่าคนปกติ โดยจะมีเพียง 2 ตนเท่านั้นในแต่ละปี แบ่งเป็นชาย 1 ตน หญิง 1 ตน และนอกจากที่แต่งกายเป็นผีตาโขนแล้ว ยังมีผีอีกสองชนิดที่แตกต่างออกไปเรียกว่า “คิงคอง” และ “ถั่งบั้ง”
สำหรับผีตนนี้ไม่มีพิษมีภัยเพียงแต่อย่างใด ครั้งจะเป็นที่ชอบบรรดาเด็กเล็กด้วยซ้ำ เพราะเทศกาลผีตาโขนจะเป็นงานบุญรื่นเริงสร้างความบันเทิง และเชื่อว่าขณะที่ผู้คนที่ออกมาแต่งตัวใส่หน้ากากคล้ายกับผีแล้ว มีผีตาโขนจริงๆ ออกมาปะปนกับคนจนไม่สามารถแยกออกได้ใครเป็นคนใครเป็นผีได้