เรื่องน่ารู้ รวมเรื่องราวน่ารู้รอบตัว เกร็ดความรู้ เรื่องเบาสมอง เรื่องสนุกๆ

เรื่องน่ารู้ รวมเรื่องราวน่ารู้รอบตัว เกร็ดความรู้ เรื่องเบาสมอง เรื่องสนุกๆ

Search
Close this search box.
Search

หุ่นยนต์เลี้ยงเด็ก นักวิจัยจีนสร้างหุ่นยนต์ AI ใช้เลี้ยงเด็กทารกในครรภ์เทียม

หุ่นยนต์เลี้ยงเด็ก

ในอนาคต เราทุกคนต่างทราบกันดีว่าโลกของเรากำลังจะเข้าสู่ยุคที่หุ่นยนต์ครองโลก เราจะได้พบกับเทคโนโลยีต่าง ๆ ที่มีการนำหุ่นยนต์เข้ามาในอุตสาหกรรมต่าง ๆ มากขึ้น และนั่นรวมถึงวงการแพทย์เองก็เช่นกัน เมื่อเร็ว ๆ นี้ นักวิจัยในจีนได้สร้างหุ่นยนต์ปัญญาประดิษฐ์ หรือ A.I. เพื่อเฝ้าติดตามและดูแลตัวอ่อนของมนุษย์ที่กำลังเติบโตในครรภ์เทียม

ทีมนักวิจัยจากสถาบันวิศวกรรมชีวการแพทย์และเทคโลยีซูโจว ได้พัฒนาหุ่นยนต์เพื่อทำหน้าที่ในการเฝ้าสังเกต บันทึก และปรับคาร์บอนไดออกไซด์ โภชนาการ และสภาพแวดล้อมอื่น ๆ ด้วยตนเองได้ ซึ่งทั้งหมดเกิดขึ้นในห้องแล็บโดยที่ผู้หญิงไม่จำเป็นต้องตั้งครรภ์เอง

บทความวิจัยของพวกเขาถูกตีพิมพ์ในวารสารวิศวกรรมชีวการแพทย์ ได้อธิบายว่าหุ่นยนต์พี่เลี้ยงได้ถูกนำมาใช้ในการเลี้ยงตัวอ่อนของสัตว์ภายในสภาพแวดล้อมของมดลูกเทียมแล้ว

“ยังมีความลึกลับมากมายเกี่ยวกับสรีรวิทยาของการพัฒนาตัวอ่อนมนุษย์” บทความระบุ “เทคโนโลยีดังกล่าวจะช่วยให้เข้าใจที่มาของชีวิตและการพัฒนาตัวอ่อนของมนุษย์ รวมถึงให้คำตอบสำหรับการแก้ปัญหาเกี่ยวกับการตั้งครรภ์อื่น ๆ”

สิ่งที่น่าสนใจก็คือ ระบบดังกล่าวถูกอ้างว่าจะช่วยให้ทารกในครรภ์เติบโตได้อย่างปลอดภัยและมีประสิทธิภาพมากกว่าในสภาพแวดล้อมตามธรรมชาติของครรภ์มารดา

จริง ๆ แล้วเทคโนโลยีครรภ์เทียมถูกพูดถึงมานานหลายปีแล้ว ตัวอย่างเช่นการศึกษาหนึ่งในปี 2019 นีรา บาเทีย องศาสตราจารย์ด้านกฎหมาย และ อีวี เคนดัล นักชีวจริยธรรมและนักวิจัยด้านสาธารณสุข ได้เขียนบทความเกี่ยวกับ “ครรภ์เทียม” ที่สามารถช่วยทารกคลอดก่อนกำหนดได้

จากบทความระบุว่า “การใช้ ‘ถุงชีวภาพ’ ที่ปิดสนิทซึ่งเลียนแบบครรภ์มารดาอาจช่วยให้ทารกที่คลอดก่อนกำหนดมาก ๆ มีโอกาสรอดชีวิตและไม่ประสบกับปัญหาทางร่างกาย”

แต่การใช้ถุงชีวภาพดังกล่าวไม่ได้มีการนำไปประยุกต์ใช้กับหุ่นยนต์พี่เลี้ยงที่ถูกพัฒนาด้วยระบบ A.I. แต่ไม่แน่ว่าในอนาคตเราจะได้เห็นการจับคู่กันระหว่างหุ่นยนต์ปัญญาประดิษฐ์และครรภ์เทียมที่มีประสิทธิภาพ ช่วยให้มนุษย์เรามีลูกได้ด้วยไม่ได้ตั้งครรภ์จริง ๆ

แต่เทคโนโลยีในลักษณะนี้ก็ยังมีอุปสรรคทางกฎหมาย โดยเฉพาะในจีนที่มีกฎหมายห้ามการใช้เทคโนโลยีดังกล่าวกับทารกในครรภ์มนุษย์ที่มีอายุครรภ์เกิน 2 สัปดาห์

ที่มา : ladbible

Tags

แชร์: