เรื่องน่ารู้ รวมเรื่องราวน่ารู้รอบตัว เกร็ดความรู้ เรื่องเบาสมอง เรื่องสนุกๆ

เรื่องน่ารู้ รวมเรื่องราวน่ารู้รอบตัว เกร็ดความรู้ เรื่องเบาสมอง เรื่องสนุกๆ

Search

10หนังแต่งกายยอดเยี่ยม ที่ชนะรางวัลออสการ์สาขานี้มา

อะแคเดมีอะวอร์ด (Academy Awards) หรือที่รู้จักกันในชื่อของรางวัลออสการ์ (Oscar) เป็นหนึ่งในงานที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมภาพยนตร์ที่มีชื่อเสียงและมีผู้คนรอคอยมากที่สุด เพื่อเป็นการให้รางวัลกับผู้ผลิตภาพยนตร์ในสาขาต่าง ๆ โดยเริ่มต้นมาตั้งแต่ปี 1929 เป็นต้นมา

แต่สำหรับ “รางวัลการออกแบบเครื่องแต่งกายยอดเยี่ยม” เริ่มมีการมอบรางวัลเป็นครั้งแรกในปี 1949 และถือเป็นอีกหนึ่งสาขาที่ได้รับการจับตามองว่าภาพยนตร์เรื่องใดจะได้ไป

1. Black Panther (2019)

เครื่องแต่งกายในเรื่อง Black Panther ถูกสร้างขึ้นโดยนักออกแบบเครื่องแต่งกาย รัธ อี.คาร์เตอร์ ซึ่งเธอกลายเป็นผู้หญิงแอฟริกันอเมริกันคนแรกที่ได้รับรางวัลออสการ์ในสาขานี้

ปลอกคอและมงกุฏที่ถูกสร้างสรรค์ขึ้นด้วยเทคโนโลยีการพิมพ์ 3 มิติร่วมกับเครื่องแต่งกายที่ซับซ้อนและไม่ธรรมดา เสื้อคลุมมงกุฎและผ้าคลุมไหล่ถูกสร้างขึ้นด้วยความช่วยเหลือของ จูเลีย คอเนอร์ ดีไซเนอร์ชาวออสเตรียที่อยู่ในลอสแองเจลิส ซึ่งเครื่องแต่งกายทั้งหมดได้รับแรงบันดาลใจจากชนเผ่าแอฟริกันแบบดั้งเดิม

2. The Grand Budapest Hotel (2015)

เครื่องแต่งกายสำหรับภาพยนตร์ของ เวส แอนเดอร์สัน ออกแบบโดย มิเลนา คาโนเนโร นักออกแบบเครื่องแต่งกายชาวอิตาลี เพื่อสร้างรูปลักษณ์ที่น่าทึ่ง เธอได้ร่วมมือกับยักษ์ใหญ่ด้านแฟชั่นเช่น Fendi และ Prada

องค์ประกอบที่ทำให้การออกแบบเครื่องแต่งกายเหล่านี้โดดเด่นคือ “สีสัน” ที่ถูกคัดสรรมาเป็นอย่างดี สีของเสื้อผ้าที่สะดุดตาและความสามารถในการแสดงถึงบุคลิกลักษณะเฉพาะของตัวละครแต่ละตัว จึงทำให้คาโนเนโรเอาชนะรางวับออสการ์สาขานี้ไปได้

3. Lord Of The Rings: The Return Of The King (2004)

เครื่องแต่งกายในภาพยนตร์เรื่องนี้ถูกสร้างสรรค์โดย เอ็นกิลา ดิกสัน และ ริชาร์ด เทย์เลอร์ ซึ่งทีมของทั้งคู่ทำงานอย่างหนักเพื่อสร้างลักษณะของตัวละครต่าง ๆ ตัวอย่างเช่น ตัวละครฮ็อบบิต ที่ดิกสันได้แรงบันดาลใจมาจากเครื่องแต่งกายในศตวรรษที่ 17 และ 18 และผลสุดท้ายทำให้ทีมออกแบบภาพยนตร์เรื่องนี้ ได้รับการเสนอชื่อเข้าชิงรางวัลอื่น ๆ อีกมากกว่า 20 รางวัล

4. Alice In Wonderland (2011)

เครื่องแต่งกายในเรื่อง Alice In Wonderland ของทิม เบอร์ตัน ถูกสร้างขึ้นโดยนักออกแบบเครื่องแต่งกาย โคลลีน แอตวูด ที่เคยทำงานในภาพยนตร์ที่ประสบความสำเร็จมาแล้วหลายเรื่อง

อกจากเครื่องแต่งกายที่สะดุดตาแล้ว การทำผมและการแต่งหน้ายังทำให้ตัวละครเหล่านี้ดูสมบูรณ์แบบยิ่งขึ้น ชุดดถูกสร้างขึ้นเพื่อเน้น “ความแปลกประหลาด” ของตัวละคร

ชุดเดียวที่ยังคง “ปกติ” คือชุดของอลิซ เนื่องจากเธอถูกมองว่าเป็นตัวละครที่ “ปกติ” งานยากคือการรักษาเครื่องแต่งกายของเธอไว้ ในขณะที่ขนาดของตัวละครเปลี่ยนไปตลอดเวลาในภาพยนตร์

5. Moulin Rouge! (2002)

เครื่องแต่งกายในเรื่องนี้ออกแบบโดย แคทเธอรีน มาร์ติน และ แอนกัส สตราธี โดยได้แรงบันดาลใจจากสถานที่จริงที่เรียกว่ามูแลงรูจ
ในการให้สัมภาษณ์กับ Vogue มาร์ตินเล่าว่าเธอไปเยี่ยมชมสถาบันเครื่องแต่งกายที่ The Met เพื่อชมคอลเลกชั่นเสื้อผ้าจากช่วงเวลานั้น แม้ว่าเครื่องแต่งกายจะมีความเที่ยงตรงทางประวัติศาสตร์ แต่นักออกแบบก็ต้องแน่ใจว่าจะผสมผสานความทันสมัยและสร้างความสะดุดตาให้กับผู้ชมในยุคปัจจุบันได้

สิ่งที่น่าสนใจ นักออกแบบได้เปิดเผยว่าพวกเธอมีข้อตกลงที่จะไม่ใช้สิ่งของใด ๆ ก็ตามที่ไม่ได้มาจากช่วงเวลานั้นอีกด้วย

6. Titanic (1998)

เดบอราห์ ลินน์ สก็อต ผู้สร้างเครื่องแต่งกายสำหรับภาพยนตร์ของ เจมส์ คาเมรอน ใช้ความพยายามอย่างมากในการพรรณนาถึงเสื้อผ้าในยุคที่เหตุการ์นี้เกิดขึ้น เธออ่านหนังสือเกี่ยวกับธรรมเนียมปฏิบัติของชนชั้นสูง พยายามทำความเข้าใจว่าผู้คนต้องประพฤติตนและแต่งตัวอย่างไร สก็อตใช้เวลามากมายในการคืนชีพชุดเดรสเก่ารวมถึงสร้างชุดใหม่ด้วยผ้าและลูกปัดที่ได้รับการซ่อมแซม

สำหรับตัวละครที่เป็นผู้โดยสารชั้น 3 พวกเขามาจากหลากหลายชาติพันธุ์ ดังนั้นเสื้อผ้าของพวกเขาจึงมาจากประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก

7. Memoirs Of A Geisha (2006)

อีกหนึ่งผลงานที่น่าทึ่ของ โคลลีน แอตวูด เธอได้รับแรงบันดาลใจมาจากเครื่องแต่งกายที่เธอเห็นในพิพิธภัณฑ์หรืออ่านจากหนังสือ อีกทั้งยังปรึกษาผู้เชี่ยวชาญในสหรัฐอเมริกาและญี่ปุ่นอีกด้วย

ตัวละครในภาพยนตร์สวมชุดกิโมโนที่ทำจากผ้าไหมและตกแต่งด้วยลวดลายที่ทำด้วยมือ สีเสื้อผ้าของแต่ละตัวละครแต่ละตัวช่วยแสดงถึงความแตกต่างในแต่ละคนว่าพวกเขาเป็นใคร

ในการสัมภาษณ์ครั้งหนึ่ง แอตวูดกล่าวว่า ในการเล่าเรื่องราวในภาพยนตร์ต้องมีการ “พูดเกินจริงไปมาก” เนื่องจากพวกเขาระลึกอยู่เสมอว่า เกอิชามีความละเอียดอ่อนกว่าที่นำเสนอมาก

8. Mad Max: Fury Road (2015)

ภาพยนตร์เรื่องนี้ได้รับการยกย่องเรื่องการออกแบบเครื่องแต่งกายที่ยอดเยี่ยม โดยมันถูกสร้างสรรค์ขึ้นโดย เจนนี บีแวน นักออกแบบเครื่องแต่งกายที่ได้รับการเสนอชื่อเข้าชิงออสการ์มาแล้วถึง 10 ครั้ง และคว้าไปถึง 2 รางวัล

ความท้าทายที่ยิ่งใหญ่ที่สุดสำหรับการสร้างเครื่องแต่งกายในภาพยนตร์เรื่องนี้คือ ต้องแน่ใจว่ามันได้สะท้อนให้เห็นถึงความถูกต้องกับสภาพอันแท้จริงของตัวละครที่เป็น ไม่ใช่เพียงแค่ความสวยงามที่เห็นเท่านั้น และนั่นทำให้เราได้เห็นเครื่องแต่งกายที่กลมกลืนเข้ากับสภาพแวดล้อมทั้งหมดที่เกิดขึ้นในเรื่องได้อย่างแนบเนียน

9. Gladiator (2001)

แจนตี เยตส์ ผู้ออกแบบเครื่องแต่งกายให้กับภาพยนตร์ของริดลีย์ สก็อตต์ เล่าว่า ในระหว่างขั้นตอนการสร้างภาพยนตร์ นักแสดงนำต้องการชุดเกราะ 12 ชุด สำหรับชุดเกราะแต่ละชุด พวกเขาต้องทำสำเนาทั้งหมด 8 ชุด โดย 4 ชุดสำหรับนักแสดงและ 4 ชุดสำหรับสตันต์แมน รวมถึงชุดเกราะที่ “สะอาด” และ “สกปรก” เช่น ชุดเปื้อนโคลนสำหรับฉากต่าง ๆ

ความท้าทายคือมันต้องดูเหมือนจริงแต่ในขณะเดียวกันก็ต้องสวมใส่สบาย นั่นคือเหตุผลที่ชุดส่วนใหญ่ทำมาจากยางโฟม แต่ต้องดูราวกับว่ามันทำมาจากโลหะ

10. Fantastic Beasts And Where To Find Them (2017)

โคลลีน แอตวูด กับผลงานของเธอที่ทำให้ได้รับรางวัลออสการ์ครั้งที่ 3 นักออกแบบสาวชาวอเมริกันถูกท้าทายให้สร้างเสื้อผ้าที่สะท้อนถึงช่วงทศวรรษ 1920 และต้องเปิดเผยบุคลิกของตัวละครผ่านเสื้อผ้าของพวกเขา

แอตวูดสร้างสรรค์เสื้อผ้ามากกว่า 1,000 ชุดในภาพยนตร์เรื่องนี้ และยังต้องค้นหาเสื้อผ้าในสไตล์ยุค 1920 จากประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก เธอกล่าวว่าส่วนที่ท้าทายที่สุดคือการสร้างลักษณะที่ใช่สำหรับตัวละครหลัก นิวต์ สคาแมนเดอร์ เพราะนั่นจะเป็นสิ่งที่ผู้ชมจะจดจำเขาได้ทันที

ที่มา : boredpanda

Tags

แชร์:

เรื่องอื่นๆ