เรื่องน่ารู้ รวมเรื่องราวน่ารู้รอบตัว เกร็ดความรู้ เรื่องเบาสมอง เรื่องสนุกๆ

เรื่องน่ารู้ รวมเรื่องราวน่ารู้รอบตัว เกร็ดความรู้ เรื่องเบาสมอง เรื่องสนุกๆ

Search

แฟรงค์เกนสไตล์ ตำนานของอสูรกายร่างใหญ่

แฟรงค์เกนสไตล์

ตำนานถิ่น : สวิสเซอร์แลนด์

แฟรงค์เกนสไตล์

อสูรกายในร่างยักษ์ที่เป็นต้นกำเนิดจากนิยายขายดีของ “มารี เชลลี่” (Mary Shelley) ทีมีชื่อว่า “โมเดล โพมีธีอุส” (Modern Prometheus) ซึ่งวางจำหน่ายเมื่อวันที่ 1 มกราคม ค.ศ.1818 และสร้างความหวาดกลัวให้แก่คนทั้งโลกมาแล้ว

เรื่องราวของอสูรกายตนนี้เริ่มมาจากนักวิทยาศาสตร์บ้าคลั่ง มีนามว่า “วิคเตอร์ แฟรงค์เกนสไตล์” (Victor Frankenstein) ซึ่งมีทฤษฎีความเชื่อในการปลุกซากศพให้กลับมาฟื้นคืนชีพอีกครั้ง จากหนังสือโบราณเล่มหนึ่งที่เขาค้นพบ โดยเริ่มแรกวิคเตอรได้นำซากศพที่ขโมยมาสุสาน และผ่าแยกนำเฉพาะชิ้นส่วนที่ดีที่สุดมาใช้ในการทดลอง หลังจากนั้นก็เย็บชิ้นส่วนของร่างกายในติดกันก่อนที่ชักคันลอกร่างนี้ขึ้นสู่ชั้นสูงสุดบนหลังคา เมื่อฟ้าได้ผ่าเข้าไปยังร่างไร้วิญญาณ อสูรกายที่เคยหลับใหลก็กลับฟื้นคืนชีพ โดยมีวลีเด็ดประจำในเรื่องนี้ว่า “มันมีชีวิตแล้ว มันมีชีวิตแล้ว” (It’s alive)

แฟรงค์เกนสไตล์

โดยแรกเริ่มปีศาจแฟรงค์เกนสไตล์ไม่อาจจะจำหรือสื่อสารภาษามนุษย์ได้ มันเปรียบเสมือนเด็กทารกในร่างยักษ์ วิคเตอร์ทำการวิจัยต่อไปและรวมไปถึงกระทั่งสอนหนังสือให้แก่มัน นานวันเมื่อมันเริ่มพูดคุยอ่านหนังสือออก วิคเตอร์ได้ค้นพบความจริงหลังจากการทดลอง รวมถึงข้อสรุปในหนังสือโบราณที่กล่าวไว้ว่าท้ายสุด อสูรกายตนนี้จะมีอายุได้อยู่เพียงไม่นาน วิคเตอร์จึงตัดสินใจจะทำลายมันก่อนที่จะมีใครพบเข้า แต่ก่อนที่จะได้ทำเช่นนั้น แฟรงค์เกนสไตล์กลับค้นพบความจริงข้อนี้เสียก่อนจึงหลบหนีผู้สร้างของมันไป

ในช่วงเวลาที่หลบหนีมีผู้คนได้พบเจออสูรกายตนนี้ ด้วยความกลัวในร่างที่ใหญ่ยักษ์ประกอบกับบาดแผลที่มากมาย พวกเขาพยายามทำร้ายมัน ส่งผลให้มันบ้าคลั่งและสังหารคนเหล่านั้น เมื่อทางการทราบข่าวเรื่องนี้จึงออกตามล่าปีศาจตนนี้ มันจึงต้องหลบหนีไปอยู่ในแดนไกลไร้ซึ่งผู้คนค้นพบ เป็นเรื่องราวที่น่าเศร้าที่มันค้นพบความโดดเดี่ยวที่ต้องอยู่ตัวคนเดียวเพียงลำพังในตอนท้ายสุดของเรื่องราวทั้งหมดนี้

แฟรงค์เกนสไตล์

แม้จะเป็นเรื่องเล่าจากปลายปากกาของนักเขียนท่านหนึ่ง แต่มารีก็ได้แรงบัลดาลใจมาจากเรื่องราวความเชื่อของ “อสูรกายร่างยักษ์” ในอดีตกาลหลายท้องที่ จนเกิดเป็นที่มาของตำนานแฟรงค์เกนไตล์

 

Tags

แชร์:

เรื่องอื่นๆ